ชื่อโครงการ การผลิตสื่อการสอนในรูปแบบ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Book)

ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาว สุธาสินี ทับทิมสด นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรชั้นสูง

แผนกคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

……………………………………………………………………………………………………………...

หลักการและเหตุผล

เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีทางด้านการสื่อสารและ อินเตอร์เน็ตมีความเจริญก้าวหน้าไปอย่างมากรวมทั้ง สื่อมัลติมีเดีย ที่มีการนำเสนอผ่านทาง Web และมัลติมีเดีย รวมทั้งการสร้างงาน Animation ซึ่งทำให้เกิดความตื่นเต้นน่าสนใจและรูปแบบในการนำเสนอก็สามารถแสดงผลได้บนอินเตอร์เน็ตในรูปแบบของ file ที่แตกต่างกันออกไป เช่น รูปแบบแสดงผลเป็น Web page แสดงผลเป็น Video อื่น และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานอื่นๆ ได้เช่น สร้างสื่อการสอน ในรูปแบบของ อีบุ” (eBook, EBook, e-Book) เปนคําภาษาตางประเทศ อมาจากคําว electronic book หมายถึง หนังสือที่สรางขึ้นดวยโปรแกรมคอมพิวเตอรมีลักษณะเปนเอกสารอิเล็กทรอนิกสโดยปกติมักจะเปนแฟมขอมูลคอมพิวเตอรที่สามารถอานเอกสารผานทางหนาจอคอมพิวเตอรทั้งในระบบออฟไลนและออนไลนคุณลักษณะของหนังสืออิเล็กทรอนิกสสามารถเชื่อมโยงจุดไปยังส่วนตางๆ ของหนังสือ เว็บไซตางๆ ตลอดจนมีปฏิสัมพันธและโตตอบกับผูเรียนไดนอกจากนั้นหนังสืออิเล็กทรอนิกสสามารถแทรกภาพ เสียงภาพเคลื่อนไหว แบบทดสอบ และสามารถสั่งพิมพเอกสารที่ตองการออกทางเครื่องพิมพไดอีกประการหนึ่งที่สําคัญก็คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกสสามารถ ปรับปรุงขอมูลใหทันสมัยไดตลอดเวลา ซึ่งคุณสมบัติเหลานี้จะไมมีในหนังสือธรรมดาทั่วไป สร้างโปรแกรมนำเสนอผลงาน, การ์ตูน Animation รวมทั้งสื่ออื่น ๆที่นำมาประยุกต์ใช้เช่น เสียง และโปรแกรมที่ทำงานกับ เสียง ด้วยดังนั้นจะเห็นว่าประโยชน์งานทางด้านมัลติมีเดียและ Animation นั้นสามารถนำไปใช้และประยุกต์ได้กับสื่ออีกมากมายหลายแบบและกับงานที่เหมาะสมจึงต้องมีการเรียนรู้โปรแกรมเพื่อเกิดการพัฒนาที่ดีและสามารถนำไปใช้งานต่อไป

จึงดำเนินโครงการ ผลิตสื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ซึ่งเสนอในรูปแบบการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ( E- Book หนังสือหรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ที่อ่านสามารถ อ่านผ่านทางอินเตอร์เน็ต หรืออุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์พกพาอื่น ได้ สำหรับหนังสือ หรือ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ จะมีความหมาย รวมถึงเนื้อหา ที่ถูกดัดแปลง อยู่ในรูปแบบที่สามารถแสดงผลออกมาได้ โดยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ มีลักษณะการ นำเสนอ สอดคล้อง และคล้ายคลึงกับ การอ่านหนังสือทั่วไปในชีวิตประจำวัน แต่จะมี ลักษณะพิเศษ คือ สะดวกและรวดเร็ว ในการค้นหา และผู้อ่าน สามารถอ่าน พร้อม กันได้โดยไม่ต้องรอให้อีกฝ่ายส่งคืนห้องสมุด เช่นเดียวกับหนังสือในห้องสมุดทั่วไป) ซึ่งจะนำเสนอบน Blogger ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้ค้นคว้าสามารถเสนอข้อมูล และแสดงความคิดเห็น บน Blogger เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะ ในการปรับปรุงข้อมูลต่อไป

วัตถุประสงค์

1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบ Multimedia

2. สามารถอธิบายการสร้างงาน Animation ในรูปแบบต่าง ได้

3. สามารถสร้างรูปแบบการนำเสนอ Multimedia ได้

4. สามารถออกแบบการทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

5. สามารถใช้โปรแกรมและเครื่องมือในโปรแกรมที่ช่วยสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้

6. สามารถศึกษาข้อมูลทาง Internet ผ่าน Blogger ได้

เป้าหมาย

เชิงปริมาณ

- ผู้ต้องการค้นคว้าความรู้สามารถรับรู้ข้อมูลได้อย่างไม่จำกัดเวลา และสถานที่

เชิงคุณภาพ

- เพื่อได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ กระบวนการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ การออกแบบสื่อการเรียนรู้และสามารถใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการสร้างสื่อการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ระยะเวลาดำเนินการ

วันที่ 28 เดือน พฤศจิกายน วันที่ 13 เดือน ธันวาคม 2552

สถานที่ดำเนินการ

เว็ปไซต์ Blogger

http://sutasineetab.blogspot.com/

กิจกรรม

1. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ

2. ชี้แจงรายละเอียดของโครงการ

3. ดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ

- สร้าง Blogger ไว้สำหรับเผยแพร่สื่อความรู้

- ค้นหาข้อมูล เนื้อหา สารสนเทศประกอบ (ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ฯลฯ)

- ค้นหาข้อมูลการสร้าง E-Book ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป

- สร้าง E-book ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป

- นำข้อมูลที่ได้มาสร้างโปรไฟล์ใน Blogger

- จัดทำ Blogger ให้สวยงาม เพิ่มความน่าสนใจ

4. ติดตามและประเมินผลการดำเนินการ


กิจกรรมและวิธีดำเนินการ

ขั้นสรุปผล วันที่ 28 เดือน พฤศจิกายน วันที่ 6 เดือน ธันวาคม 2552

ลักษณะการดำเนินงาน

ที่

กิจกรรม

ระยะเวลาดำเนินการ

พฤศจิกายน

ธันวาคม

1

2

3

4

1

2

3

4

1

เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ








2

ชี้แจงรายละเอียดโครงการ








3

ดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ








4

ติดตามและประเมินผลการดำเนินการ








งบประมาณ

ค่าใช้จ่ายในการใช้ Internet 400 บาท

กระดาษ+ค่าพิมพ์เอกสาร 50 บาท

รวมค่าใช้จ่าย 450 บาท

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

การดำเนินงานพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีประสิทธิภาพ มีบรรยากาศทางวิชาการ เอื้อให้มีการ แบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการจัดการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

ภาคผนวก

การใช้โปรแกรมสร้างสื่อ E-BOOK

ด้วย Desktop Author

โปรแกรม Desktop Author เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับสร้างสื่อดิจิตอล หรือที่เรียกทั่วๆไปว่า “ E-Book ” เอกสารที่ได้จาการสร้างด้วยโปรแกรม Desktop Author นี้ จะมีลักษณะรูปร่างเหมือนหนังสือ ทั่วไป คือมีปกหน้า สารบัญ ข้อความ รูปภาพ และนอกจากนี้ยังสามารถที่จะแทรกภาพเคลื่อนไหว ไฟล์ภาพยนตร์ ไฟล์flash และเสียงบรรยาย ลงไปในหนังสือได้

ข้อดีของโปรแกรม Desktop Author

1. ไฟล์ที่ได้จากการExport มีขนาดเล็ก

2. มีลักษณะคล้ายกับหนังสือ สามารถสั่งพิมพ์ในแต่ละหน้าหรือทั้งหมดของหนังสือได้

3. สามารถเผยแพร่ผ่านระบบเครือข่ายได้ง่าย และ Download ผ่านเวป ได้รวดเร็ว หรือสามารถที่จะส่งไฟล์ผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ( E-Mail) ได้

การเริ่มต้นใช้งานโปรแกรม Desktop Author

หลังจากที่ได้ทำการติดตั้งโปรแกรม Desktop Author ซึ่งเป็น Version 4.5.7 ลงในคอมพิวเตอร์เรียบร้อยแล้ว จะมี Icon ของโปรแกรมอยู่ที่ Desktop เราสามารถจะเรียกใช้ได้โดยดับเบิลคลิก ที่ Icon หรือจะเรียกใช้จาก

Start ------> Program ------> Desktop Author ------> Desktop Author 4

โปรแกรมจะเปิดหน้าแรกขึ้นมาให้เราดังรูป

ส่วนประกอบของโปรแกรม

1. เมนูและทูลบาร์ ( Menu & Toolbar ) เป็นปุ่มใช้งานทั่ว ไป

แต่ละปุ่ม มีหน้าที่ดังนี้

ใช้สำหรับสร้างงานใหม่

ใช้สำหรับการเปิดงานที่มีอยู่แล้วขึ้นมาดูหรือแก้ไข

ใช้สำหรับบันทึกงานที่ได้จัดทำขึ้น

ใช้สำหรับดูตัวอย่าง ( Preview ) งานที่ได้ทำ

ใช้สำหรับเก็บไฟล์ทั้งหมดที่ทำขึ้นมาให้เป็นไฟล์เดียวอยู่ในรูปของ .EXE

ใช้บีบอัดไฟล์งานทั้งหมดที่ทำขึ้นมาให้เป็นไฟล์เดียวอยู่ในรูปของ .DNL สำหรับการทำเวปไซต์

ใช้สำหรับป้องกันไฟล์งานทั้งหมดที่ทำขึ้นมาเพื่อนำเสนอในเวปไซต์ไฟล์เดียวโดยมีนามสกุล .DRM

ใช้ในการทำ Screen saver

ใช้สำหรับใส่ไฟล์ DNL ลงในเวปไซต์

ใช้สำหรับ upload ไฟล์ขึ้นเวปไซต์

ใช้สำหรับการแทรกไฟล์มัลิมีเดียต่างๆ

ใช้สำหรับการแทรกคำถาม คำตอบ และเพิ่ม Object ลงใน e-book

ใช้สำหรับ refresh งาน

ใช้สำหรับตั้งค่าต่าง ของ e-book

ใช้สำหรับเลือกรูปแบบต่างๆเป็นต้นแบบที่จะนำมาสร้างเป็นe-book

ใช้สำหรับการเลือกปุ่มเพื่อแทรกลงในe-book

2. แถบเครื่องมืออื่น เป็นแถบเครื่องมือที่ใช้สำหรับการจัดการในหนังสือ ที่ใช้บ่อย แบ่งออกเป็น 5 ส่วน คือ

ส่วนที่ 1 Page เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับการจัดการเกี่ยวกับหน้าของหนังสือ เช่น เพิ่มหน้า ลบหน้า เป็นต้น

( Add Page ) สำหรับเพิ่มหน้าเอกสาร

( Delete Page) สำหรับลบหน้าเอกสาร

( Move Page ) สำหรับย้ายหน้าเอกสาร

( Copy Page ) สำหรับคัดลอกหน้าเอกสาร

( Previous Page ) แสดงเอกสารหน้าก่อนหน้า

( Next Page ) แสดงเอกสารหน้าถัดไป

( Goto Page ) ระบุเลขหน้าของเอกสารที่ต้องการ

ส่วนที่ 2 Insert เป็นกลุ่มเครื่องมือที่ใช้งานเกี่ยวกับการแทรก วัตถุต่าง เข้ามาไว้ในหนังสือ เช่น แทรกกล่องข้อความ แทรกรูปภาพ เป็นต้น

( Insert Box ) แทรกกล่องสีให้หน้าเอกสารน่าสนใจ

( Insert Image) แทรกรูปภาพ

( Insert Text ) แทรกข้อความ

( Insert Editable Text ) สำหรับแก้ไขข้อความ

(Insert Editable Image) สำหรับแก้ไขรูปภาพ

( Popup Image ) ใส่ข้อความโดยใช้ Text Block

(Insert Multimedia) แทรกไฟล์มัลติมีเดีย

ส่วนที่ 3 Edit เป็นกลุ่มเครื่องมือที่ใช้เกี่ยวกับการแก้ไขทั้งหมด เช่น การตัด คัดลอก หรือการลบ เป็นต้น

( Undo ) ยกเลิกคำสั่งปัจจุบัน

( Redo) กลับไปทำงานตามคำสั่งที่ยกเลิกไป

( Cut ) ตัดวัตถุ

( Copy ) คัดลอกวัตถุ

( Paste ) วางวัตถุที่คัดลอกมา

( Delete ) ลบวัตถุทิ้ง

ส่วนที่ 4 Change เป็นกลุ่มเครื่องมือที่ใช้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงค่าต่าง เช่น การเปลี่ยนจุดเชื่อมโยง

การเปลี่ยนรูปภาพ เป็นต้น

( Change Scale ) ตั้งค่าขนาดของวัตถุ

( Change Link) เปลี่ยนการเชื่อมโยงวัตถุ

( Change Position ) ย้ายวัตถุต่าง บนหน้ากระดาษ

( Change Image ) สำหรับเปลี่ยนรูปภาพ

( Change Transparency ) แก้ไขความคมชัดของรูปภาพ

( Edit Image ) เรียกใช้ Image Editor

ส่วนที่ 5 Colour เป็นกลุ่มเครื่องมือเกี่ยวกับการกำหนดสี และขอบสี เป็นต้น

( Border Colour ) กำหนดสีขอบวัตถุ

( Fill Colour ) กำหนดสีของวัตถุ

4. แถบเครื่องมือที่ใช้ในการจัดวางวัตถุ

( Send to top ) ให้วัตถุอยู่บนสุด

( Up one layer ) ให้วัตถุอยู่สูงขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง

( Down one layer )ให้วัตถุอยู่ชั้นต่ำลงไปอีกระดับหนึ่ง

( Send to buttom )ให้วัตถุอยู่ชั้นล่างสุด

( Align left ) ให้วัตถุอยู่ชิดด้านซ้าย

( Align right ) ให้วัตถุอยู่ชิดด้านขวา

( Align center vertical ) ให้วัตถุอยู่ตรงกลางในแนวตั้ง

( Align top ) ให้วัตถุอยู่ชิดด้านบน

( Align Buttom ) ให้วัตถุอยู่ชิดด้านล่าง

( Align center horizontal ) ให้วัตถุอยู่ตรงกลางในแนวนอน

( Distribute Width ) ให้วัตถุอยู่กึ่งกลางในแนวนอน

( Distribute Height ) ให้วัตถุอยู่กึ่งกลางในแนวตั้ง

ลำดับขั้นการสร้างหนังสือ

เปิดโปรแกรม Desktop Author ขึ้นมาแล้วคลิกเลือก New หรือ File ---> New

หรือ

จะมีหน้าต่างให้เรา กำหนดค่า Properties ต่าง ของ E – Book ดังรูป

ความหมายของค่าต่าง จาก Book Properties มีดังนี้

Width : ความกว้างของหนังสือ

Height : ความสูงของหนังสือ

Border Color : สีเส้นขอบของหนังสือ ในที่นี้เลือก No Border คือไม่ใส่ขอบหนังสือ

Paper Colour : เลือกสีของแผ่นกระดาษ

Mask Colour : เลือกสีที่ใช้ในการทำรูปให้โปร่งใส

Background Colour : สีพื้นหลัง

Character Set : เลือกภาษาที่ใช้ ให้เลือก THAI

Text default left : ความห่างของกล่องข้อความกับขอบกระดาษซ้ายมือ

Text default top : ความห่างของกล่องข้อความกับขอบกระดาษด้านบน

Text default height : ความสูงของกล่องข้อความ

Text default width : ความกว้างของกล่องข้อความ

Start with tooltip auto update : เปิดหนังสือพร้อมอัปเดทเครื่องมือ

Autostart : เปิดหนังสือโดยให้เปิดหน้าเองอัตโนมัติ

Start with background windows : เปิดหนังสือพร้อมฉากหลัง

Disable Print Function : จะให้สามารถ print e-book ได้หรือไม่

Page Turn : ปรับค่าการเปลี่ยนหน้ากระดาษ

Fly speed : ปรับความเร็วในการเปลี่ยนหน้า

Start Status : เลือกตั้งค่าให้มีเมนูหรือไม่มีเมนูบนหนังสือ

DWB Goto : เลือกการใช้ style ของโปรแกรม

Default Unicode Value : เลือกใช้ Unicode พื้นฐาน

With/Without Password : เลือกการใส่หรือไม่ใส่ password ให้กับหนังสือ

Book Password : ใส่ password กรณีที่ต้องการ

Book Backup Files : เลือกตั้งค่าไฟล์ back up ว่าจะให้มีกี่ไฟล์

Disable Send Mail Function :ตั้งค่าการส่ง E-mail

Disable Save As Function :การบันทึกไฟล์

Book Tranparency : ตั้งค่าเกี่ยวกับการโปร่งใส ในการทำปกหนังสือ

Book DRM : ตั้งค่าการป้องกันต่างๆ

Book Email : ตั้งค่า E-mail สำหรับหนังสือ

Book Multimedia : ตั้งค่ามัลติมีเดีย ( version ของ Windows Media Player )

การแบ่งหน้ากระดาษ

โดยการเลือกใช้คำสั่ง Buttons ------> Divider หรือ Buttons ------> 3D _spines

หรือ

เมื่อเลือกรูปแบบได้แล้ว กดปุ่ม Use จะมีเส้นแบ่งหน้าตามรูป เราสามารถเคลื่อนย้ายไปไว้ตำแหน่งใดตามต้องการได้

การสร้างปกหน้าของหนังสือ

การสร้างปกหน้าของหนังสือนั้น หลังจากแบ่งหน้ากระดาษได้แล้ว ปกหน้าของหนังสือจะอยู่ด้านขวามือของกระดาษ ดังนั้นเราจะต้องทำให้ กระดาษด้านซ้ายมือหายไป โดยการเลือกใช้คำสั่ง Tools ----> Book Tranparency

ก่อนอื่นให้เราแทรกรูปภาพเข้ามาไว้ในกระดาษด้านขวามือ ส่วนที่จะทำเป็นปกหนังสือก่อน โดยคลิกเลือก Insert -----> Image จะมีหน้าต่างให้เลือกหารูปภาพที่จะนำมาวางในหน้าที่เป็นปกหนังสือ ให้เลือกภาพที่ต้องการแล้วคลิก Open

หลังจากนั้นให้ทำกระดาษด้านซ้ายมือให้หายไปโดยใช้คำสั่ง Tools -----> Book Tranparency

จะปรากฏหน้าต่างให้เรากำหนด ค่าต่าง ในที่นี้ให้ดูในส่วนของ Eazy Cover Shape โดยใส่เครื่องหมายในช่อง With Tranparency แล้วเลือกสีที่ Tranparency Colour ให้เป็นสีขาว ซึ่งเป็นสีที่ตั้งไว้เป็นสีของหน้ากระดาษ ( Parer Colour ) แล้วคลิก OK

การสร้างเนื้อหาบน E-Book

เมื่อสร้างปกหนังสือเรียบร้อยแล้ว จากนั้นให้ทำการ Add page เพื่อเพิ่มหน้าของหนังสือโดยคลิกเลือกที่ ในส่วนของ Tools Page หรือ เลือกที่เมนู Insert ------> Page ซึ่งปกติเนื้อหาเอกสารควรจะอยู่หน้าที่ 3 เป็นต้นไป ( หน้าที่ 2 จะเป็นสารบัญ ) การสังเกตว่าขณะนี้เรากำลังดำเนินการจัดการ E-Book ของเราในหน้าที่เท่าไรแล้วนั้นให้ดูจากมุมล่างขวามือจะบอกว่าหน้าที่เท่าไรในจำนวนทั้งหมดกี่หน้า ดังรูป

ในการสร้างเนื้อหานั้นหากเรามีเอกสารในรูปของ Word หรือเอกสารในรูปอื่น เราก็สามารถที่จะคัดลอกเนื้อหาในเอกสารนั้นๆ มาวางในหน้าเอกสารของ E-Book ได้ เพื่อความรวดเร็วในการสร้าง ไม่เช่นนั้นแล้วเราต้องมาสร้างใหม่ทั้งหมด

ในการใส่เนื้อหา รูปภาพหรือสื่อมัลติมีเดียต่าง ลงใน E-Book นั้น เราจะใช้เมนู Insert

สร้างเนื้อหาแต่ละหน้าให้เสร็จ โดยการ Add Page ไปจนครบทุกหน้า โดยเราสามารถที่จะเลือก แทรกตัวอักษร ( Insert Text ) ,แทรกรูปภาพ ( Insert Image ) , หรือ Multimedia ( เสียง , Video , Flash ) ลงในเอกสารในหน้าที่ต้องการจะแทรกได้

การแทรก Multimedia

อย่าลืมว่า การที่จะใช้ไฟล์ต่างๆที่จะนำมาลงไว้ใน E-Book นั้น ต้องนำมาวงไว้ในโฟลเดอร์เดียวกัน เช่นเดียวกัน ไฟล์ Multimedia ต่าง ก็จะต้องนำมาวางไว้โฟลเดอร์เดียวกันด้วย หลังจากนั้นคลิกเลือก Insert ----> Multimedia หรือ จะมีหน้าต่าง Dialog ตั้งค่าต่าง ของMultimedia ขึ้นมาให้เราตั้งค่า

Font : ให้เลือกฟ้อนต์

Text Colour : เลือกสีของตัวอักษร

File : บอกชื่อไฟล์ที่เราใส่ลงใน E-Book

Embed file inside book: เลือกใส่ไฟล์ลงใน E-Book

Start play automatically: เลือกให้เล่นเองโดยอัตโนมัติ

Loop : ให้เล่น Multimedia แบบวนต่อเนื่อง

Add/Change image: ใส่รูปภาพ

Remove image : เอารูปภาพออก

Note Text : กล่องใส่ข้อความ

การทำ Link

การทำ Link หรือการเชื่อมโยงไปยังส่วนต่าง ของหนังสือเช่นทำสารบัญ หรือส่วนที่ต้องการให้มีการเชื่อมโยง วิธีการก็คือ คลิกเลือกเมนู Insert ---------> Text พิมพ์ข้อความลงในText editor ระบายทึบในส่วนที่ต้องการจะทำจุดเชื่อมโยง คลิกที่ปุ่ม Link จะขึ้นหน้าต่าง Link Type ซึ่งมีการ Link หลายๆ แบบ ให้เลือกรูปแบบการ Link ตามที่เราต้องการ

การสร้างปกหลังของหนังสือ

ก่อนอื่นให้เพิ่มหน้าE-Book ขึ้นมาอีกหนึ่งหน้า เพื่อสร้างเป็นปกหลัง โดยนำรูปหรือข้อความที่ต้องการทำเป็นปกหลัง ไว้ในครึ่งหน้าที่ตรงข้ามกับที่ทำปกหน้า หรือครึ่งด้านซ้ายของเอกสาร คลิกเลือกเมนู คำสั่ง Tools ----> Book Tranparency

จะปรากฏหน้าต่างให้เรากำหนด ค่าต่าง เหมือนกับตอนที่เราสร้างปกหน้า ให้ดูในส่วนของ Eazy back Cover Shape โดยใส่เครื่องหมายในช่อง With Tranparency แล้วเลือกสีที่ Tranparency Colour ให้เป็นสีขาว ซึ่งเป็นสีที่ตั้งไว้เป็นสีของหน้ากระดาษ ( Parer Colour ) แล้วคลิก OK

การทดสอบผลงาน E-Book ที่ได้จัดทำ

เมื่อเราได้จัดทำผลงานเอกสาร E-Book เสร็จแล้ว ก่อนที่จะนำไปแสดงผล เราจำเป็นจะต้องทำการบันทึกไฟล์ทั้งหมดก่อน โดยเลือกเมนู File --------> Save As เลือกตำแหน่งที่จะเก็บไฟล์ ตั้งชื่อไฟล์ ซึ่งไฟล์ที่จะบันทึกนั้นจะเป็นไฟล์ประเภท .DRM ซึ่งเป็นไฟล์ของโปรแกรมนี้สามารถเรียกมาดูหรือแก้ไขได้ แต่ไม่สามารถไปเปิดกับโปรแกรมอื่นได้ เสร็จแล้วคลิก Save ( ทั้งนี้ขอแนะนำว่า การเก็บไฟล์และข้อมูลทั้งหมดที่จะนำมาทำเป็น E-Book นั้น ควรจะนำมาเก็บไว้ในโฟลเดอร์เดียวกัน เพื่อความสะดวกในการนำมาใช้งาน )

หลังจากนั้นให้ทำการแพ็คไฟล์ โดยเลือกที่เมนู File -------> Package EXE หรือคลิกที่

โปรแกรมจะทำการรวบรวมงานทั้งหมดที่ทำออกมาเป็นไฟล์ประเภท .EXE สามารถนำไปเปิดดูที่ใดก็ได้ โดยไม่ต้องอาศัยโปรแกรม Desktop Author

ส่วนไฟล์อีกประเภทหนึ่งก็คือ ไฟล์ DNL ไฟล์ที่แพ็คด้วยวิธีนี้ จะต้องเปิดดูด้วยโปรแกรม DNL Reader ซึ่งต้องดาวน์โหลดจากอินเตอร์เน็ต การแพ็คไฟล์ก็ให้เลือกที่เมนู File -----> Package DNL

หรือ *

การนำไฟล์ E-Book ไปใช้บนเวปไซต์

ไฟล์ที่ได้จากโปรแกรม Desktop Author นี้จะมีขนาดเล็ก ง่ายต่อการจัดการในกรณีที่ต้องการแสดงผลผ่านเวป การจัดทำไฟล์ที่ E-Book ที่ได้ให้อยู่ในรูปของไฟล์ที่ใช้งานผ่านระบบอินเตอร์เน็ตนั้น จะต้องทำให้อยู่ในรูปแบบของไฟล์ HTML ขั้นตอนในการแปลงไฟล์ของ E-Book ให้อยู่ในรูปแบบของ HTML มีดังนี้คือ

ให้นำชิ้นงานที่ต้องการแปลงมา หลังจากเปิดชิ้นงานแล้วให้คลิกที่ Tools ------> Publish To Web หรือ คลิกที่ไอคอน กรณีที่ยังไม่มีการ Package DNL ก่อน โปรแกรมจะให้ทำการ Package ก่อนแล้วถึงจะทำขั้นตอน Publish นี้ ได้

ในรายการ Web Template ใช้สำหรับเลือกประเภทของการแสดงผล ว่าจะให้ Auto หรือคลิกเพื่อเริ่มแสดงผลเอง และสามารถเลือกว่าจะให้มีเครื่องควบคุมการแสดงผลด้วยหรือไม่ก็ได้ ในที่นี้ขอเลือกเป็น Ellipse_Auto.htm เนื่องจากแสดงผลเองและไม่มีเครื่องมือควบคุม จากนั้นคลิกปุ่ม Publish

โปรแกรมจะถามว่าต้องการจะดูตัวอย่างหรือไม่

ผลที่ได้จากการ Publish แล้ว และเมื่อทำการ Preview จะได้ดังรูป

การใช้ Templates และ Buttons

Templates เป็นการเรียกใช้รูปแบบเอกสารอัตโนมัติ ที่โปรแกรมได้จัดไว้ให้ ซึ่งมีหลายรูปแบบ การใช้งานเพียงแค่คลิกเลือก Templates ------> เลือกรูปแบบที่ต้องการ

เสร็จแล้วคลิก Use จะได้รูปแบบอัตโนมัติ ดังรูป

หลังจากนั้นก็เข้ากระบวนการทำ E-Book ที่ได้กล่าวมาแล้ว

ในส่วน Buttons เป็นปุ่มอัตโนมัติ สามารถเรียกใช้งานคล้ายกับ Templates โดยเรียกที่

Buttons ------> เลือกรูปแบบที่ต้องการ

เมื่อเลือกรูปแบบได้แล้ว คลิก Use เลือกตำแหน่งที่วางปุ่ม

คลิกขวาที่ปุ่ม เลือก Change Link เพื่อกำหนดการทำงานของปุ่ม ที่ตำแหน่ง Link Type ต้องเลือกให้สัมพันธ์กับปุ่ม ไม่เช่นนั้นแล้วเมื่อเรา package ไฟล์แล้ว ปุ่มจะไม่ทำงานตามที่เราต้องการ

การสร้างแบบทดสอบ

1. คลิกเลือกที่ Eazy Form บน Tool Bar

2. จะมีหน้าต่าง Add form objects ให้เราเลือก Add Question


3. จะปรากฏหน้าต่างดังรูป

ส่วนของ Question


Order

คำถามข้อที่ .....

Question ID

เป็นส่วนที่โปรแกรมกำหนดเอง ไม่ต้องแก้ไข

Text to display

เป็นส่วนของคำถามที่ต้องพิมพ์ลงไป

Style

ใช้ในการกำหนดฟ้อนต์และสีของตัวอักษร การ

แก้ไขให้คลิกที่ปุ่ม Style ค่า Default จะเป็น Arial ให้เลือกฟ้อนต์ใหม่คลิกที่ Select Font

Select Style Setting

เป็นการตั้ง Style ให้เอกสารตามต้องการ ให้คลิกเลือกที่ปุ่ม Edit แล้วกำหนดค่าต่าง แล้วตั้งชื่อ Style name เพื่อเรียกใช้ภายหลัง

ในส่วนของ Answer

Type : ชนิดของคำตอบ แบ่งได้หลายแบบ ตามรูป

Input : ตอบคำถามสั้นๆ ไม่เกิน 1 บรรทัด

Text Area : ตอบคำถามสั้น เชิงบรรยาย

Dropdown List : เลือกตอบเพียงตัวเลือกเดียว จากรายการทั้งหมด

List : เลือกตอบเพียงตัวเลือกเดียว จากรายการทั้งหมด

Checkbox : ใช้กับคำถามที่มีคำตอบมากกว่า 1 ข้อ

Radiobox : ใช้กับคำถามที่มีคำตอบเพียงข้อเดียว

Number of Answer: จำนวนตัวเลือกของคำตอบ

Caption : ข้อความที่ต้องการแสดงให้เห็นตอนส่งแบบทดสอบ

Answer : คำตอบที่ต้องพิมพ์ลงไป

Style : ใช้กำหนดฟ้อนต์และสีของตัวอักษร

Correct : คำตอบที่ถูกต้อง

Points : คะแนนให้กับคำตอบข้อนั้นๆ

การสร้างปุ่มสำหรับส่งแบบทดสอบ

เมื่อเราทำการจัดทำแบบทดสอบเรียบร้อยตามจำนวนที่ต้องการแล้ว เราต้องสร้างปุ่มเพื่อใช้ในการส่งแบบทดสอบเพื่อนำไปประมวลผล โดยใช้คำสั่ง Add Submit Button เปลี่ยนข้อความในช่อง Caption โดยข้อความนี้จะอยู่บนปุ่มที่เราสร้างเพื่อใช้ส่งแบบทดสอบ พร้อมทั้งคลิกเลือก View Result เพื่อให้แสดงผลหน้าต่อไป

เปลี่ยน Style โดยคลิกที่ Edit เพื่อเลือกแบบตัวอักษรและสีตัวอักษร หรือสีพื้นหลัง ตามต้องการ

ในช่อง Method เป็นการเลือก รูปแบบของการส่งข้อมูลไปประมวลผล ซึ่ง method มีหลายอย่าง เช่น Email : เป็นการส่งข้อมูลไปยัง E-mail ที่กำหนด

Get/Post : เป็นการส่งข้อมูลไปยังเวปเพจ โดยใช้ภาษา HTML

ในที่นี้ให้เลือก No Information

ต่อมาให้คลิกเลือกที่ Edit Result Page

จะเห็นแบบฟอร์มที่ใช้รายงานผลการทำแบบทดสอบ ดังรูป

หลังจากนั้นให้ทำการปรับแต่งให้ได้รูปแบบตามที่ต้องการ

Read More......
วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2552 Posted in | | 22 Comments »